Knowledge


คลังความรู้

OECD คืออะไร ? ทำไมถึงมีบทบาทสำคัญต่อโลก

        องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) หรือ The Organization for Economic Cooperation and Development ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2504 แรกเริ่มประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 20 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการประสานงานด้านนโยบายและเสรีภาพทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว OECD มาจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป (OEEC:Organisation for European Economic Co-operation ) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491 เพื่อติดตามผลงานของอเมริกาและแคนาดาภายใต้แผนมาร์แชล OECD มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และรวมสมาชิกจากรัฐประชาธิปไตย เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ 

            ภารกิจหลักของ OECD คือ กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าโลก และเป็นเวทีในการเปรียบเทียบนโยบาย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และประสานงานนโยบายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งรวมถึงการปราบปรามการค้าผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน 

            ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกของ OECD มีทั้งหมด 38 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่อเมริกาเหนือและใต้ไปจนถึงยุโรปและเอเชียแปซิฟิก เป็นตัวแทนของทูตที่สภา OECD ซึ่งกำหนดและดูแลงานตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา OECD

บทบาท OECD       

            หลักของ OECD คือการปรับปรุงเศรษฐกิจโลกและส่งเสริมการค้าโลก เป็นทางออกสำหรับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการทำงานร่วมกับประเทศประชาธิปไตยที่มีความมุ่งมั่นร่วมกันในการปรับปรุงเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากร 

ความสำคัญ OECD ต่อรัฐบาลทั่วโลก 

OECD กับประเทศไทย 

            ประเทศไทยมีความร่วมมือกับ OECD ผ่านโครงการ Thailand-OECD Country Programme และเป็นสมาชิก OECD Development Centre ซึ่งเป็นประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของไทยให้ทัดเทียมสากล อีกทั้งยังมีส่วนช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย รวมทั้งส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย 

            โดยไทยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ในการจัดทำโครงการ Country Programme หรือ CP ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินการ 2 – 3 ปีมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่  

1.  การรับรองตราสารทางกฎหมาย 
2. การจัดทำ Policy Reviews ในสาขาต่าง ๆ
3. การเพิ่มการมีส่วนร่วมของหน่วยงานไทยใน OECD ในฐานะสมาชิกหรือผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการด้านต่าง ๆ 
4. การส่งเจ้าหน้าที่ของไทยไปทำงานร่วมกับ OECD ในลักษณะ Secondment (การให้บุคลากรของหน่วยงานได้มีโอกาสเปลี่ยนจากการปฏิบัติงานที่ทำอยู่ประจำไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นเป็นการชั่วคราว) โดยมีประเด็นความร่วมมือที่สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 

            ซึ่งมีโครงการภายใต้ CP ทั้งสิ้นจำนวน 16 โครงการ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 4 เสา ได้แก่  

1.  ธรรมาภิบาลภาครัฐและความโปร่งใส
2. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน 
3. ประเทศไทย 4.0
4. การเติบโตอย่างทั่วถึง

Picture form : www.oecd.org

OECD กับการดำเนินธุรกิจ 

“ ชุมชนภาคธุรกิจมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจในลักษณะที่คำนึงถึงผลกำไร 

และผลกระทบจากกิจกรรมของตนต่อสังคม แนวปฏิบัตินี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความมั่นใจ 

ว่ารัฐบาลและภาคธุรกิจจะสามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อผลักดันการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมทั่วโลก 

ผ่านการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบและการตรวจสอบธุรกิจทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานมากยิ่งขึ้น ” 

Angel Gurria เลขาธิการ OECD 

            องค์กรมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นภาคธุรกิจต้องดำเนินการตรวจสอบในกระบวนการที่องค์กรดำเนินการเพื่อระบุ พร้อมตอบสนองต่อผลกระทบด้านลบที่อาจจะเกิดขึ้นกับการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยแนวปฏิบัตินี้เป็นการตรวจสอบธุรกิจของกลุ่ม OECD สำหรับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบให้การสนับสนุนบริษัทโดยการให้แนวทางปฏิบัติและคำอธิบายที่ชัดเจนถึงวิธีการตรวจสอบธุรกิจตามแนวทางคำแนะนำของ OECD  

            ข้อปฏิบัตินี้เป็นตัวแทนของความเข้าใจร่วมกันระหว่างรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมตรวจสอบธุรกิจ ชี้แนะเรื่องธุรกิจ และสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวมถึงปฏิญญาไตรภาคี ILO หรือ International Labour  Organisation (องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ) ได้รับการพัฒนาโดยกระบวนการที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายรวมไปถึงตัวแทนจาก OECD และประเทศนอกสมาชิก องค์กรระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจ สหภาพแรงงาน และประชาสังคม ในการมุ่งแก้ไขผลกระทบซึ่งมีการตรวจสอบตามแนวทาง OECD กับบริษัทข้ามชาติ อย่างสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม การจ้างงานและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ การต่อต้านการติดสินบนการชักชวน ข่มขู่การให้รับสินบน ผลประโยชน์ของผู้ให้บริโภค และการเปิดเผยข้อมูล ตามแนวทางของธุรกิจต่อ OECD ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อ สร้างความมั่นใจในสภาพแวดล้อมมีการลงทุนระหว่างประเทศที่เปิดกว้าง โปร่งใส 

            บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษางานระบบวิศวกรรม และบริหารงานบำรุงรักษาซ่อมแซมงานระบบวิศวกรรม งานบริหารการจัดการพลังงานภายในอาคาร รวมถึงบริการอบรมด้าน ESG สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือคลิกที่นี่เพื่อให้เราติดต่อกลับ

อ้างอิง : corporatefinanceinstitute.com 

sdgs.nesdc.go.th 

mfa.go.th 

mneguidelines.oecd.org