Knowledge


คลังความรู้

Climate Change กับเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


                โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง (Climate Change) ทั้งหน้าหนาวที่สั้นลง พายุ น้ำท่วมฉับพลัน และปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติ ทั้งนี้ในปี 2015 จากงานประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP (Conference of the Parties) ครั้งที่ 21 ได้ตกลงร่วมมือกันรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม (กลางศตวรรษที่ 19) ประเทศที่ร่วมลงนามได้มุ่งผลักดันเป้าหมายใหญ่ ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ค่าเฉลี่ยตามข้อตกลงปารีส หรือ the Paris agreement 2015 คือ จำกัดองศาไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (เทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรมปัจจุบันอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียส) 

                แต่ด้วยระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกที่สูงถึง 420 ส่วนในล้านส่วนซึ่งเป็นระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันว่าเป็นไปได้ยาก โดยบอกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะสูงถึง 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมในช่วงระหว่างปี 2030 ถึง 2052 หากการปล่อยมลพิษยังคงเพิ่มขึ้นเท่าเคยเป็นมา อีกทั้งยังมีความเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 กับ 2 องศาเซลเซียสย่อมเกิดผลกระทบที่แตกต่างกัน ดังนั้นผลกระทบความต่างเพียงแค่ 0.5 องศาเซลเซียสนั้นถือว่ามีผลกระทบที่ใหญ่มากขึ้นต่อโลกแล้ว 

จะเป็นอย่างไร?หากโลกร้อนขึ้น 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส 

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น 

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส วันที่อากาศร้อนจัดในละติจูดกลางจะร้อนกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม 3 องศาเซลเซียส  

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส วันที่อากาศร้อนจัดในละติจูดกลางจะร้อนกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 4 องศาเซลเซียส 

ประมาณ 14% ของประชากรโลกจะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนสูงทุกๆ 5 ปี หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส 

ประมาณ 37% ของประชากรโลกจะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนสูงทุกๆ 5 ปี หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส 

ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลคาดว่าจะสูงขึ้นภายในปี 2100 โดย 0.46 เมตร  เมื่อเทียบกับปี 1986-2005 

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลคาดว่าจะสูงขึ้นภายในปี 2100 โดย 0.46 เมตร  เมื่อเทียบกับปี 1986-2005 

อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์ละลายเร็วมากขึ้นระดับน้ำทะเลจึงสูงขึ้น 

ความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง 

เมื่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ส่งผลต่อ แมลง 6% พืช 8% และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 4% จะสูญเสียมากกว่าครึ่งหนึ่งของช่องทางภูมิศาสตร์ที่กำหนดโดยภูมิอากาศ ภายในปี 2100 

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ส่งผลต่อ  แมลง 18% พืช 16% และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 8% จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหรือสามเท่าคาดว่าภายในปี 2100  

ประมาณ 4% ของพื้นที่บนบกของโลกจะได้รับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศจากประเภทหนึ่งไปสู่อีกประเภทหนึ่ง เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส 

ประมาณ 13% ของพื้นที่บนบกของโลกจะได้รับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศจากประเภทหนึ่งไปสู่อีกประเภทหนึ่ง เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส 

การละลายของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติก 

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่ามหาสมุทรอาร์กติกจะปราศจากน้ำแข็งในฤดูร้อนทุก 100 ปี 

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส มหาสมุทรอาร์กติกอาจปราศจากน้ำแข็งในฤดูร้อนทุกๆ 10 ปี 

อาร์กติกที่ไร้น้ำแข็งสามารถนำไปสู่ภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากน้ำทะเลสีน้ำเงินเข้ม (ซึ่งตรงข้ามกับน้ำแข็งสีขาว) ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อัลเบโด เอฟเฟกต์  

ความเสี่ยงของแนวปะการัง 

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส แนวปะการังทั่วโลกคาดว่าจะลดลงอีก 70-90% 

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส แนวปะการังคาดว่าจะลดลงมากกว่า 99% ซึ่งนับเป็นการสูญเสียที่ไม่อาจแก้ไขได้ในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งหลายแห่ง 

การประมงทั่วโลกลดลง 

รายงานของ UN คาดการณ์ว่า ด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสปริมาณการจับสัตว์น้ำทั่วโลกต่อปีสำหรับการประมงทะเลจะลดลงประมาณ 1.5 ล้านตัน ด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส จะลดลงมากกว่า 3 ล้านตัน 

ความยากจนที่เพิ่มขึ้น 

ชนพื้นเมืองบางกลุ่ม ชุมชนท้องถิ่นที่พึ่งพาการเกษตร ผู้ที่พึ่งพาทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการดำรงชีวิต ประชากรบางกลุ่มมีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อผลกระทบของภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง  

การจำกัดอุณหภูมิให้ร้อนขึ้นที่ 1.5 องศาเซลเซียสสามารถลดจำนวนผู้คนทั่วโลกที่เผชิญกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศและส่งผลให้เกิดความยากจนลดลงได้หลายร้อยล้านคน เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของ 2 องศาเซลเซียส 

ผลกระทบต่อสุขภาพ 

จำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากความร้อนและจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีพาหะนำโรค เช่น มาลาเรียและไข้เลือดออกจะเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส และการเพิ่มขึ้นของ 2 องศาเซลเซียสอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของโรคที่มีพาหะนำโรค 

ผลกระทบด้านอาหาร 

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส คาดว่าจะนำไปสู่การลดลงของผลผลิตข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี รวมถึงธัญพืชอื่น ๆ  

แนวทางในการจำกัดอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น 

                การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปี 2562 มีปริมาณรวม 59.1 กิกะตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ และแม้ว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกจะลดลงอย่างมากในปี 2563 อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่การลดลงนั้นเป็นเพียงชั่วคราว ดังนั้นมี 2 แนวทางในการจำกัดอุณหภูมิคือ 

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ 45% จากระดับปี 2010 ภายในปี 2030 จะบรรลุ Net Zero ในปี 2050 

หากต้องการจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 2 องศาเซลเซียส การปล่อยก๊าซจะต้องลดลงประมาณ 25% ภายในปี 2030 ถึงจะบรรลุ Net Zero ในปี 2070 

Picture from : markets.businessinsider.com

 นาย Fatih Birol ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA : International Energy Agency กล่าวว่าการลงทุนด้านพลังงานสะอาดยังคงสามารถ “เปลี่ยนโลกไปสู่เส้นทางสู่การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593” ได้ และได้แนะนำให้ช่วยเหลือสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการลงทุนพลังงานสะอาด พร้อมได้เรียกร้องให้ IMF ให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยตรงในโครงการพลังงานสะอาด ซึ่งขณะนี้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์มีราคาที่ถูกลงในหลายพื้นที่ของโลก ประกอบกับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าก็กำลังจะถูกลงในอนาคต พลังงานดังกล่าวจะทำให้สามารถลดการใช้ก๊าซเรือนกระจก ลดคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อขยับให้เข้าใกล้เป้าหมาย Net Zero ในอนาคตที่จะถึงนี้  

                INNO สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมส่งเสริมพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ตามหลัก ESG เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโลกอย่าง SDGs (Sustain Development Goals) นำเทคโนโลยี Solar Cell คุณภาพระดับโลก (Tier 1) พร้อมวิศวกรชำนาญการ ประสบการณ์กว่า 28 ปี มาพร้อมกับเทคโนโลยี IOT มอนิเตอร์ระบบไฟฟ้าและระบบอื่นๆของอาคารได้ด้วย DI (Digital Innovation)Platform ง่ายแค่ปลายนิ้วทั้งระดับบ้านและอาคารสูง สนับสนุนเป้าหมาย Net Zero เต็มรูปแบบ  สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือคลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ

อ้างอิง : www.yaleclimateconnections.org/
www.wri.org/insights
www.thestandard.co
FB : Environman