ขุมพลังงานแห่งจักรวาล ทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด
ในสมัยก่อนมนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในวิถีชีวิตด้านต่างๆ ความเจริญก้าวหน้าทางเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่หยุดยั้งย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วยจึงทำให้ส่งผลร้ายต่อธรรมชาติตามมา หลังปี 1987 เป็นต้นมาพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีผลกระทบต่อลม ฝน ฤดูกาล ระบบนิเวศเริ่มเสียสมดุล เนื่องจากการเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจก (The Greenhouse Effect) สะสมที่เกิดจากกิจกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันมนุษย์เริ่มเห็นผลกระทบจากกิจกรรมของตนที่ส่งผลเสียต่อโลกทีละนิดจากเหตุการณ์ทางภัยพิบัติต่างๆ เป็นเหตุให้เกิดการร่วมประชุมนานาชาติขององค์การสหประชาชาติที่ได้รับการรับรองจากทั้งหมด 193 ประเทศทั่วโลก เพื่อเป้าหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goal) ให้สำเร็จ อันเนื่องจากโลกพบปัญหาอย่างมากทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของประชากรมากขึ้นนำมาซึ่งความกดดันต่อทรัพยากรธรรมชาติ
ภายในปี 2050 มีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านคน ทำให้ความต้องการพลังงานมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าดังนั้นจึงต้องมีการรับมือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จึงมีการมองหาทรัพยากรจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จากน้ำมันและถ่านหินที่เป็นตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs โลก นั่นคือทรัพยากรจากธรรมชาติอย่างพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาดซึ่งเป็นพลังงานที่ก่อกำเนิดเองได้ตามธรรมชาติอยู่ใกล้ตัวมนุษย์ เข้าถึงง่ายที่สุดนั่นคือ พลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์
จุดยุทธศาสตร์พลังงานแสงอาทิตย์
ปัจจุบันโซลาร์เซลล์เป็นที่รู้จักในวงกว้างทั้งกลุ่มภาคครัวเรือน ธุรกิจและอุตสาหกรรม ต่างนิยมใช้โซลาร์เซลล์เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของกิจการได้เป็นอย่างดี พร้อมช่วยให้สอดคล้องกับเป้าหมายอนุรักษ์พลังงานของ SDGs ที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกที่เข้าร่วมลงนามการประชุมนี้ โซลาร์เซลล์เหมาะสมกับการใช้งานกับอาคารทุกรูปแบบ มีศักยภาพในการผลิตพลังงานมากกว่าการใช้พลังงานของโลกในปัจจุบันหลายเท่า หลายประเทศจึงหันมาส่งเสริมการใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ให้กับภาคครัวเรือนและธุรกิจแม้บางประเทศจะเสียเปรียบด้านระยะเวลาคืนนานกว่ากลางวัน สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 500,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตใกล้เคียงเส้นศูนย์สูตร อยู่ในแถบเขตร้อนซึ่งได้เปรียบในด้านผลิตทรัพยากรพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ประเทศไทยได้รับพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยต่อปีสูงกว่าเขตอื่นๆมีค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยค่อนข้างสูงถึงวันละ 4.7 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรความเข้มข้นของรังสีแสงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 18.2 เมกะจูลต่อตารางเมตร และสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ต่อปี หากใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกลงบนประเทศไทยเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่ทั้งหมดต่อปี จะได้พลังงานเทียบเท่าน้ำมันดิบประมาณ 700 ล้านตัน ดังนั้นประเทศไทยจึงมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่สามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไทยเป็นอีกประเทศที่ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงาน มีนโยบายการปรับใช้พลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มการปรับเปลี่ยนรถเมล์น้ำมันให้กลายเป็นรถเมล์ไฟฟ้า ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถจากพลังงานทดแทน แทนการใช้เครื่องยนต์สันดาบ ส่วนภาครัฐและเอกชนเร่งสร้างจุดเติมไฟฟ้าเพื่อรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงมีโซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่รองรับการผลิตไฟฟ้าจำนวนมากเพื่อเป้าหมายที่ไทยจะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero Emission) ในปี 2065
การใช้ไฟฟ้าของไทย
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยปี 2021 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 17,544 GWh แบ่งกลุ่มการใช้เป็นภาคอุตสาหกรรม 37% ธุรกิจ 23% ครัวเรือน 21% IPS* 16% และอื่นๆ 3% โดยภาคกลางมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดคิดเป็น 73.21% รองลงมาเป็นภาคตะวันเฉียงเหนือ 11.04% ภาคใต้ 8.04% และภาคเหนือ 7.70% ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 5 จังหวัดแรกได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 2.ระยอง 3.ชลบุรี 4.สมุทรปราการ 5.สระบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่เป็นเศรษฐกิจและเขตอุตสาหกรรม จากข้อมูลการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EGAT) พบว่า ปี 2022 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปีที่แล้ว 6.97% ที่ 32,254.5 MW และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงอัตราการเติบโตจากภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวจากการเปิดประเทศ ก็ทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกันยายน(2565)นี้ ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือกกพ. ได้เคาะขึ้นค่าเอฟที งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2565 ที่ 68.66 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยโดยรวมที่ประชาชนต้องจ่ายจริงอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย สูงขึ้นจากงวดปัจจุบันที่จ่ายอยู่ 4 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟยิ่งแพงขึ้นต้นทุนกิจการต้องสูงขึ้นและกระทบต่อทุกภาคครัวเรือนตามไปด้วย ดังนั้นโซลาร์เซลล์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เข้าถึงได้ง่าย ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
*(Independent Power Supply คือ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองโดยไม่ขายเข้าระบบของการไฟฟ้าหรือจำหน่ายไฟฟ้าให้ลูกค้าตรง)
INNO เข้าใจถึงการใช้ไฟฟ้าของประเทศ ยึดถือการทำธุรกิจลดต้นทุนองค์กรและใส่ใจสิ่งแวดล้อมขององค์กรลูกค้า ดำเนินธุรกิจด้วยหลัก ESG(Environment, Social, Governance) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบรรลุเป้าหมาย SDGs (Sustainable Development Goals) จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น และมีความต้องการในการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น INNO จึงพัฒนาบริการด้านพลังงานทดแทน อย่างโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน มีผู้เชี่ยวชาญทำงานอย่างไม่ลดละเพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีด้านพลังงาน สามารถให้คำปรึกษา แนะนำและติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ทักษะความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพลังงานทดแทนนำมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด รับออกแบบดีไซน์ พร้อมบริการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์โดยตรง สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ
Ref : http://news.mit.edu/2011/energy-scale-part3-1026
Ref : http://www.epco.co.th/departmentofenergybusiness.php