Knowledge


คลังความรู้

ไฟไหม้โซลาร์เซลล์

   ปัจจุบันโซลาร์เซลล์หรือพลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่มีประโยชน์ สามารถผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองในบ้าน ในอาคาร และหากผลิตได้มากก็สามารถจำหน่ายคืนให้การไฟฟ้าได้ รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกต่างก็เร่งผลักดันนโยบายทางด้านโซลาร์เซลล์ ทำให้ในปัจจุบันการติดตั้งระบบการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  

             ในประเทศไทยแนวโน้มการติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือโซล่ารูฟท็อป เพิ่มมากขึ้นภายหลังจากเศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ภาครัฐจึงเริ่มยกเลิกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพต่างๆ ซึ่งก็รวมถึงการทยอยปรับเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft)  ส่งผลให้นับตั้งแต่ต้นปี 2565 อัตราค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และปรับเพิ่มที่ระดับ 3.79 บาทต่อหน่วยในงวดเดือนพฤษภาคม ถึงสิงหาคม ล่าสุดจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.72 บาทต่อหน่วยในงวดเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม  

             จากแนวโน้มการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มขึ้นนี้ ก่อให้เกิดกระแสข่าว “แผงโซลาร์เซลล์บนหลังคากับการเกิดไฟไหม้” มีเพิ่มมากขึ้น โดยในหลายเหตุการณ์มีหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดอัคคีภัย ส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้แผงโซล่าเซลล์ไฟไหม้? 

โดยสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ มีดังนี้ 

–ระบบไม่ได้ออกแบบให้มีความปลอดภัย 

–แผงโซลาร์ไม่ได้มาตรฐาน 

–ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง  

–ผู้ติดตั้งขาดความรู้ความชำนาญ 

–ไม่มีระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown  ) 

–ค่าความต้านทานระบบสายดินเกินมาตรฐาน

             ด้วยเหตุนี้ หลายคนที่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปแล้วนั้น อาจมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไฟไหม้ระบบแผงโซล่าเซลล์ การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่ถูกต้องและมีมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ไฟฟ้าลัดวงจรกระแสย้อนกลับ และความผิดปกติที่พื้นซึ่งอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้  

วิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการไฟไหม้แผงโซล่าเซลล์ 

1.เลือกผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีความรู้และความชำนาญ 

ผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์ควรมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการติดตั้ง เพื่อเป็นการยืนยันการทำงานที่มีมาตรฐานค และที่สำคัญต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของ“ความปลอดภัยทางไฟฟ้า” โดยเฉพาะทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของธุรกิจ 

2.ใช้แผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ 

การที่ซื้อแผงโซล่าเซลล์คุณภาพต่ำนั้นหรือแผงโซลาร์เซลล์ที่มีราคาถูกอาจจะทำให้มีความเสี่ยง เกิดไฟไหม้  ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นในระยะยาว ควรซื้อแผงโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา เช่น การใช้แผงโซลาร์ Tier 1 คือ การจัดอันดับแผงโซลลาร์เซลล์ตามมาตรฐาน โดยบลูมเบิร์ก บริษัทผู้ให้บริการด้านข้อมูล วิเคราะห์ทางด้านการเงินการลงทุน โดยป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกหากอนาคตเกิดปัญหากับแผงโซลาร์เซลล์ในระยะยาวจะยังมีผู้ผลิตที่ที่คอยดูแลและบำรุงรักษาให้ตลอดอายุที่รับประกันอย่างแน่นอน   

3.การบำรุงรักษาแผงโซลาเซลล์และระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ  

หมั่นตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ว่ายังสมบูรณ์อยู่หรือไม่ เช่น มีรอยร้าว รอยแตก , รอยฝ้าบริเวณผิว , มีรอยรั่วของน้ำภายในผิวแผงโซล่าเซลล์ และ สีของแผงเปลี่ยนหรือไม่ และไม่ควรให้มีสิ่งสกปรก เช่น คราบน้ำมัน คราบกาว หรือมูลสัตว์ติดอยู่บนแผงโซล่าเซลล์เป็นระยะเวลานาน เพราะอาจะส่งผลต่อการไหลเวียนของกระแสไฟฟ้าและอาจทำให้แผงเสียหายได้  และควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ หากมีข้อผิดพลาดให้ทำการแก้ไขให้เร็วที่สุด 

4.หลีกเลี่ยงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เองแบบ DIY  แม้ว่าอาจลดต้นทุนการติดตั้ง แต่ก็อาจทำให้เกิดปัญหามากขึ้นในอนาคต ระบบแผงโซล่าเซลล์มีความซับซ้อนด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรพยายามติดตั้งแบบ DIY หากไม่ใช่ช่างไฟฟ้าที่ได้รับการฝึกอบรมหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์ การทำเช่นนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่แผงโซล่าเซลล์จะติดไฟได้

5.ติดตั้งระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยติดตั้งสวิตช์เริ่มการทำงานระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน (rapid shutdown) ในกรณีเกิดไฟไหม้ เพื่อให้นักดับเพลิงสามารถเข้าไปควบคุมเพลิงใหม้ในอาคารได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความเสียหายหรือ สามารถช่วยชีวิตของผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้อย่างปลอดภัย ควรอยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น ผนังใกล้ทางเข้าอาคาร เป็นต้น

             ระบบ Rapid shutdown มีมาตรฐาน National Electrical Code (NEC) 2017 จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดของข้อกำหนดระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยกำหนดเงื่อนไขระดับแรงดันไฟฟ้าตามขอบเขตรอบแผงโซล่าเซลล์เป็นระยะ 1 ฟุต (305 มม.) ในทุกทิศทาง ซึ่งในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ประเทศไทยโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ได้บังคับใช้มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง (NEC) ในโครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ใหม่ทั้งหมดในประเทศไทยเช่นเดียวกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานโครงการระบบโซล่าเซลล์ในไทย 

             INNO  เข้าใจและใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเล็งเห็นความสำคัญและความต้องการพลังงานทดแทน INNO จึงพัฒนาบริการด้านการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์  มีผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถพร้อมให้คำปรึกษา แนะนำและติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนที่ได้มาตรฐานสากล 

             บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด รับออกแบบดีไซน์ พร้อมบริการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์แบบครบวงจรได้มาตราฐานระดับสากล ISO 9001, ISO 45001 และ ISO 50001 โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์โดยตรงพร้อมบริการหลังการขายระดับมืออาชีพด้วยประสบการณ์ด้านวิศวกรรมยาวนานมากกว่า 28 ปี สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือคลิกที่นี่เพื่อให้เราติดต่อกลับ

Cr.bangkokbiznews
www.nexte.co.th