Zero Breakdown เครื่องจักรขัดข้องต้องเป็น “ศูนย์” ลดการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
หลายๆธุรกิจมักประสบปัญหาเรื่องของอายุการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์ขัดข้อง เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด เกิดจากความชะล่าใจและมีความคิดที่ว่า “ ถ้ายังไม่พังอย่าพึ่งซ่อม” ความคิดนี้อาจใช้ได้ผลในระยะสั้น แต่ความคิดนี้อาจทำให้สิ้นเปลืองเงินหลายแสนบาทในแต่ละปี เนื่องจากขาดการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ความเสียหายที่เกิดขึ้นส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของธุรกิจและต้องใช้เวลานานในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาที่มากกว่าเดิมหลายเท่าโดยเฉพาะธุรกิจภาคการผลิตที่ต้องให้ความสำคัญกับเครื่องจักรเพื่อการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค หากธุรกิจมีแผนการบำรุงรักษาที่ไม่ดีจะส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือเครื่องจักรด้อยประสิทธิภาพลงได้
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance : PM) ที่เข้มงวดนั้นถือเป็นกุญแจสำคัญในการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ของคุณให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ลดปัญหาการชำรุดเสียหายสามารถใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Preventive Maintenance
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance : PM) เป็นหนึ่งในรูปแบบการดูแลสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยลักษณะงานของ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ PM คือ การคาดการณ์และป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในอนาคต เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะทำการตรวจสอบ, บำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์หรือวัสดุอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องจักรหรืออุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการนี้ช่วยลดการบำรุงรักษาเชิงรับ รวมถึงมีเวลาเพิ่มในการทำงานด้านอื่นๆ เหมาะสมกับทุกโรงงานอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการทั้งหลาย เพราะนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานมากยิ่งขึ้นและลดปัญหาความขัดข้องระหว่างกระบวนการผลิต อีกทั้งยังเป็นผลดีสำหรับธุรกิจที่จะสามารถรักษาคุณภาพและกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ประเภทของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ PM
1.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะ คือแผนการบำรุงรักษาที่ดำเนินการตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น การบำรุงรักษาเชิงป้องกันทุกสิ้นปี รายไตรมาส รายเดือน และรายสัปดาห์ เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการและผู้จัดการโรงงานควรอ่านคู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ จากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอย่างละเอียด เพื่อกำหนดตารางเวลาในการทำ PM
2.การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนงานที่วางแผนและทำงานเฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมไว้นำมาพิจารณาก่อนที่จะระบุข้อกำหนดการทำ PM ให้เหมาะสมที่สุด ยิ่งมีข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และพิจารณามากเท่าไรก็จะยิ่งช่วยให้ผู้ประกอบการใช้จ่ายในการลงทุนและทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
3.การบำรุงรักษาที่กำหนด
การบำรุงรักษาประเภทนี้ จะทำการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล โดยจะรวบรวมและวิเคราะห์สภาพอุปกรณ์ก่อนที่จะเสนอแนะ คำแนะนำเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน โดย “การวิเคราะห์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า” เพื่อบ่งชี้ได้แม่นยำมากกว่าและวางแผนการบำรุงรักษา ควรทำการบำรุงรักษาในช่วงไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด
ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM)
สามารถใช้หลักการของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
- สามารถยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์และป้องกันการชำรุดเสียหายระหว่างการใช้งาน
- ลดเวลาที่หยุดชะงักเนื่องจากอุปกรณ์ชำรุดระหว่างการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที และไม่ก่อให้เกิดปัญหาการผลิตล่าช้า ป้องกันความเสียหายของธุรกิจ
- สามารถลดอุบัติเหตุหรืออันตรายเนื่องจากการชำรุดของเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้ใช้งานและทรัพย์สินปลอดภัยจากอันตรายจากอุปกรณ์ต่างๆ
- ช่วยลดต้นทุน การใช้งานของอุปกรณ์และเครื่องจักรจนถึงจุดที่เสียแล้วค่อยซ่อม อาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการบำรุงรักษาตามระยะเวลาถึง 10 เท่า
- ลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงานประจำวัน
- 6. ทำให้เครื่องจักรสามารถสร้างผลผลิตและสินค้าต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อจำกัดของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM)
แม้ว่าประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะมีหลายอย่าง แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่ควรจะทราบ
1.ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ในธุรกิจขนาดเล็กอาจะพบว่าเครื่องมือสำหรับบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ ซอฟต์แวร์บริหารจัดการมีราคาสูงและควรจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยบริหารจัดการ จึงมีปัญหาด้านงบประมาณได้
2.ต้องมีพนักงานที่มีประสบการณ์ การบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้ประสบความสำเร็จอาจจะต้องใช้พนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจหรือมีประสบการณ์ หากธุรกิจไม่มีพนักงานมีประสบการณ์ ทำให้อาจจะต้องจ้างพนักงานเพิ่มหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาช่วยจัดการ
Preventive Maintenance เป็นหนึ่งในกระบวนการบำรุงรักษาในอุตสาหกรรมที่ทุกโรงงานควรให้ความสนใจเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเบื้องต้น การทำPM วิธีนี้สามารถทำได้สะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้นด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Automation และ IoT ทำให้สามารถคาดการณ์และตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆในกระบวนการต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มความแม่นยำในการประเมินและการบำรุงรักษายิ่งขึ้นไปอย่างระบบบริการจัดการการซ่อมบำรุงด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าระบบ CMMS: Computerized Maintenance Management System
ระบบซ่อมบำรุงตามมาตรฐานสากล (CMMS)ช่วยอะไร?
อินโนนำระบบซ่อมบำรุงตามมาตรฐานสากล (CMMS) พัฒนาโดยทีมอินโน บริหารจัดการงานบริหารระบบวิศวกรรมอาคารมาใช้งานเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยระบบ CMMS คือ ระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องจักรและเครื่องมือรวมไปถึงอุปกรณ์การใช้งานต่างๆเพื่อเป็นเครื่องมือจัดการ ควบคุม วัดผล และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและทันสมัย ดังนั้นระบบนี้จึงช่วยช่างซ่อมบำรุงให้ทำงานซ่อมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ครอบคลุมทุกงานที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงและต้องตรงตามมาตรฐานสากล ซึ่งประกอบด้วยฟีเจอร์ สำคัญดังนี้
• งานบริหารจัดการงานบำรุงรักษา (Preventive Maintenance)
• งานซ่อม (Correctives Maintenance)
• งานการจัดการอะไหล่และวัสดุคงคลัง (Spare part Management)
• การจัดการพลังงานไฟฟ้า (Electrical Monitoring & Report)
• การแจ้งเตือนสถานะต่างๆ ของระบบวิศวกรรมหลักของอาคาร (Utility Monitoring & Report)
• การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้จากผู้ใช้งาน (Knowledge Sharing)
การใช้งานที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากระบบ CMMS คือสามารถลดเวลาการหยุดทำงาน เพิ่มประสิทธิผล และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณและเครื่องจักรได้อย่างมาก ระบบ CMMS ไม่ได้จำกัดการใช้งานในแค่ที่โรงงานแค่นั้น แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ในงานอื่นๆได้มากมาย เช่น โรงพยาบาล อาคารห้างร้าน และศูนย์กีฬา เป็นต้นที่ซึ่งมีระบบงานซ่อม และอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ต้องการดูแลรักษา
การยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังคงมีความสำคัญ ถือเป็นปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้เนื่องจากเมื่อใช้งานเครื่องจักรเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรและชิ้นส่วนต่างๆ ก็มักเกิดการสึกหรอขึ้นได้ตามอายุและปริมาณการใช้งาน เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรหมั่นทำ Preventing Maintenance เพื่อลดการเกิด Zero breakdown หรือเครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ โดยตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์และระบบต่างๆภายในอาคารทั้งระบบไฟฟ้าและสื่อสาร , ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ , ระบบสุขาภิบาลและบำบัดน้ำเสีย, ระบบป้องกันเพลิงไหม้ และระบบขนส่งภายในอาคาร อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้การใช้งานสาธารณูปโภคในอาคารเป็นไปอย่างราบรื่นพร้อมใช้งานและปลอดภัยอยู่เสมอ เพียงเท่านี้จะช่วยยืดอายุการใช้งาน ลดความเสียหายจากการชำรุด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมระยะยาว
ทีมผู้เชี่ยวชาญ INNOVATION TECHNOLOGY มีการวางแผนดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์ในแบบ “Preventive Maintenance” หรือการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์เชิงป้องกัน ซึ่งเป็นการดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการใช้งานระบบซ่อมบำรุงตามมาตรฐานสากล (CMMS) พัฒนาโดยทีมอินโน บริหารจัดการงานบริหารระบบวิศวกรรมอาคาร รองรับการวางแผนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ครอบคลุมถึงงานแจ้งซ่อม , งานการจัดการการเดินเครื่องจักร ,งานการจัดการอะไหล่และวัสดุคงคลัง ,งานการจัดการพลังงานไฟฟ้า และการแจ้งเตือนสถานะต่างๆ ของระบบวิศวกรรมหลักของอาคาร เพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพอาคารทั้งในด้านการให้บริการงานวิศวกรรมและพลังงานอย่างครบวงจรทำให้ผู้ใช้อาคารมั่นใจว่าอาคารมีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ มั่นใจกับงานบริหารจัดการระบบวิศวกรรมอาคาร เพราะ INNO มีทีมวิศวกรและทีมผู้เชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ ด้วยมาตรฐานระดับสากล ( ISO 9001 :2015 ,ISO 45001:2018 , ISO 50001 :2018 และ ISO 41001:2018 ) สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ
Cr. www.goodmaterial.com
www.naichangmashare.com