Knowledge


คลังความรู้

ISO 45001 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

            ภายหลังจากโรคระบาดจากโควิด 19 ทำให้รูปแบบการทำงานในบริษัทเริ่มเปลี่ยนไป คนทำงานใส่ใจอาชีวอนามัยกันมากขึ้นเพราะนี่เป็นยุคที่ทุกคนต้องใส่ใจดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจเกิดกับตัวเอง รวมไปถึงวิกฤติ PM 2.5 (Particulate Matter 2.5) ที่ตัวเลขพุ่งสูงถึง 800 กว่าที่ภาคเหนือ และค่าเฉลี่ย 180 ในภาคกลางซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างเนื้อเยื่อถุงลมในปอดเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องจัดหาเครื่องฟอกอากาศเพื่อช่วยยับยั้งปริมาณฝุ่นในขณะที่อยู่บ้าน จากวิกฤติดังกล่าวทำให้การใช้ชีวิตเริ่มเปลี่ยนไปดังนั้นจะเห็นว่าเราได้เริ่มดูแลตัวเองกันตั้งแต่อยู่ที่บ้าน ระหว่างเดินทางจนถึงกระทั่งที่ทำงานซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องดูแลอาชีวอนามัยตนเองอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน  

            แต่เมื่ออยู่ที่บ้านเราสามารถดูแลความสะอาดอนามัยได้ง่ายเนื่องจากเป็นปัจจัยภายในที่ควบคุมได้ แต่ปัจจัยภายนอกอย่างที่ทำงานซึ่งเราไม่สามารถควบคุมดูแลได้ทุกเรื่อง ทั้งในเรื่องสถานที่และคุณภาพอากาศ รวมถึงความปลอดภัยขณะทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีมาตรฐานควบคุมไว้เป็นสิ่งพึงปฏิบัติในองค์กรอย่างมาตรฐาน ISO 45001 ว่าด้วยเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อรับรองว่าสถานที่ทำงานนี้ปลอดภัยและมีคุณภาพอาชีวอนามัยที่ดีให้แก่บุคลากรในองค์กร 

            จากข้อมูลขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO (International Labour Organization) พบว่าสถิติการเสียชีวิตจากการทำงานเฉลี่ยถึง 2.78 ล้านคนต่อปี ส่งผลต่อธุรกิจที่ต้องสูญเสียต่อทรัพยากรในองค์กรอีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนองค์กร จึงเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนต้องหันมาให้ความสำคัญกับการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อรักษาบุคลากรอันมีค่าและสร้างความปลอดภัยให้ยั่งยืนตามเป้าหมายที่ 3 ของความยั่งยืนโลกSDGs ด้าน Good Health and well-being ว่ารับรองการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุอีกด้วย 

จากข้อมูลสถิติ (ล่าสุดเป็นของปี 2564) จาก SSO (Social Security Office) หรือสำนักงานประกันสังคม พบว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงอันตรายจากการทำงานซึ่งแบ่งเป็นประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงสูงสุด 4 อันดับแรกได้แก่ 

1.งานก่อสร้างอาคาร ถึง 4,516 รายหรือคิดเป็นร้อยละ 5.77
2.งานผลตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานยนต์ 2,014 รายหรือคิดเป็นร้อยละ 2.57
3.งานกลึงกัดใสโลหะ 1,623 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 2.07
4.งานก่อสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์ 1,481 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 1.89

ประกอบไปด้วยกัน 5 จังหวัดที่ประสบเหตุและเจ็บป่วยมากที่สุดได้แก่  

1.กรุงเทพมหานคร จำนวน 18,445 ราย
2.สมุทรปราการ จำนวน 9,191 ราย
3.ชลบุรี 5,977 ราย
4.สมุทรสาคร 5,916 ราย
5.ปทุมธานี 3,869 ราย 

            ดังนั้นการลดจำนวนความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากการทำงานนั้น หากค่ายิ่งต่ำยิ่งดี และดีที่สุดคือทำให้เป็น “ศูนย์ ” ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับแบบแผนขององค์กร การจัดการความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการสื่อสารต่อพนักงานในองค์กรให้เกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญต่อการสูญเสีย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 45001
            มาตรฐาน ISO 45001 : 2018 เป็นมาตรฐานที่ควบคุมเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กร ที่มาแทนที่มาตรฐานเดิมอย่าง OHSAS 18001  ที่ให้ความใส่ใจแก่บุคลากรในองค์กรโดยมุ่งเน้นยกระดับความปลอดภัยอีกทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพอาชีวอนามัยให้สูงขึ้น คำนึงถึงบริบทต่างๆ ความเสี่ยง โอกาสและข้อกำหนดอื่นๆ ให้ป้องกันบุคลากร พนักงาน ช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บ การสูญเสียและการเจ็บป่วยอย่างยั่งยืน 

            การส่งเสริมอาชีวอนามัย (Occupational Health) ในองค์กรเป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงาน โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกายและจิตใจ องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้นิยามโรคจากการประกอบอาชีพและโรคเนื่องจากงานตามสาเหตุปัจจัยไว้ 3 โรคดังนี้ 

  1. โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) หมายถึง โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน สาเหตุจากการสัมผัสสิ่งที่เป็นโทษต่อสุขภาพในที่ทำงาน ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากการทำงานเป็นเวลานาน โรคจากการประกอบอาชีพบางโรคอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ รวมทั้งโอกาสหรือ วิธีการที่ได้รับ
  2. โรคเนื่องจากงาน (Work-related Diseases) หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน การทำงานในอาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย ดังนั้นลักษณะการทำงานในอาชีพ หากมีการออกแรงซ้ำๆ หรือมีท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้องก็จะแสดงอาการขึ้น เป็นต้น 
  3. โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Environmental Diseases) หมายถึงผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อน ในดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง 

ประโยชน์ขององค์กรที่ได้รับ ISO 45001 

INNO ได้รับมาตรฐาน ISO 45001 เสริมสร้างอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  

            INNO รู้ดีว่าบุคลากรในองค์กรเป็นสำคัญที่สุดดำเนินกิจการเกี่ยวกับวิศวกรรมอาคาร มุ่งเป้าเป็นองค์กรปลอดภัยที่อุบัติเหตุ “เป็นศูนย์” ให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย รวมถึงจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมกับอาชีวอนามัย เพื่อให้สุขทั้งกายและใจแก่พนักงาน  โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย อีกทั้งยกระดับการดำเนินงานมาตลอดให้เป็นไปตามหลักสากลจนทำให้ INNO เป็นองค์กรที่ได้รับมาตรฐานISO 45001 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานมีสภาพแวดล้อมการทำที่ปลอดภัยและดีต่ออาชีวอนามัยทั้งภายในองค์กรและนอกองค์กร สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือคลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ

อ้างอิง : https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=en&id=525 

https://www.sso.go.th/wpr/