อาคารปลอดภัย ใส่ใจดูแลกับมาตรฐาน ISO 41001:2018 Facility Management System
อาคารเป็นสิ่งปลูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ในด้านต่างๆ ไม่ได้มีความหมายเพียงแง่กายภาพ แต่ยังรวมถึงทรัพยากรที่อยู่ในอาคาร มีกิจกรรมก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ อาคารนั้นเปรียบเสมือนโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ ซึ่งภายในโครงสร้างร่างกายจะประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงอยู่ได้ อาคารก็เช่นกันภายในอาคารต้องมีองค์ประกอบหลายส่วนเพื่อให้สามารถใช้งานอาคารได้มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ระบบป้องกันเพลิงไหม้ ระบบสุขาภิบาลและบำบัดน้ำเสีย และระบบขนส่งภายในอาคารเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองเปรียบเสมือนอวัยวะภายในของอาคาร ดังนั้นหากต้องการให้อาคารมีประสิทธิภาพจะต้องมีความเข้าใจองค์ประกอบทางกายภาพอาคารเพื่อให้ใช้ประโยชน์อาคารได้สูงสุด
การทำธุรกิจในอาคารจะต้องอาศัย Facilities ที่เหมาะสมสนับสนุนการทำงานของบุคลากรภายในเพื่อสร้างผลผลิตงาน คุณภาพงาน ก่อให้เกิดรายได้ และสนับสนุนการอยู่อาศัยในอาคาร จำเป็นต้องนำแนวทางการบริการจัดการอย่าง “การบริหารทรัพยากรในอาคาร” (Facility Management) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอันได้แก่ คน (People) กระบวนการทำงาน (Process) และสภาพแวดล้อมสถานที่ (Place) ที่เกี่ยวข้องกับผู้อาศัย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมในอาคาร ให้เอื้อสนับสนุนต่อการใช้งาน ดังนั้น ถ้าสามารถวางแผนดูแลการใช้ Facilities ได้ดี จะสามารถควบคุมต้นทุนตรงจุดนี้ไปได้ซึ่งทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และยังจะช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันกันทางธุรกิจอีกด้วย
Facility Management (FM) หรือการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร คือ การบริหารจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้หรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมไปถึงกิจกรรมที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยมีองค์ประกอบมีคำนึงถึง คือ 3P ได้แก่ คน People กระบวนการ Process และสิ่งแวดล้อม/สถานที่ Place โดยหลักการของ FM จะให้ความสำคัญกับผู้ใช้อาคารและเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก ส่วนตัวอาคารเป็นส่วนเสริมที่จะอำนวยความสำเร็จตามเป้าหมายที่องค์กรวางไว้ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจทุกระดับ ทั้งในแง่การบริหารความเสี่ยงขององค์กร Risk Assessment และการพัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม ที่ครอบคลุมต่อเนื่องและยั่งยืนโดยการบริหารจัดการทรัพยากรบุคลากร (People) ขององค์กรโดยเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ (ผู้บริหารสูงสุด) และปลายน้ำ (กลุ่มทีมทำงาน/ช่างบำรุง) ส่วนด้านกระบวนการ (Process) นั้น คือ การจัดการในระบบควบคุมหรือเทคโนโลยีประหยัดพลังงานหรือเทคนิคที่ทำให้การทำงานของบุคคลในสถานที่ใดๆหรือกับเครื่องจักรใดๆไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียด้านพลังงานหรือสูญเสียน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในขณะที่ด้านสถานที่ (Place)จะครอบคลุมทั้งในเรื่องของพื้นที่อาคารที่มีโครงสร้างแต่เดิมไม่เอื้ออำนวยต่อการประหยัดพลังงานหรือการใช้งานหน่วยงานย่อยและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารที่กินพลังงานสูงเช่น ลิฟต์ แอร์เครื่องปรับอาคาร เครื่องจักรต่างๆเป็นต้น ดังนั้นสิ่งต้องระลึกเสมอว่าทั้ง 3P นี้จะต้องอยู่ภายใต้แนวทาง ที่เรียกว่า Potential (Effective + Possible)หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ก่อให้เกิดประสิทธิภาพขึ้นจริง ผลผลิตดีขึ้น ย่อมทำกำไรได้มากขึ้น
“เพราะอาคารไม่ใช่เพียงแค่สถานที่…แต่ยังรวมถึงผู้คนและกระบวนการ”
จากวิกฤติจากโรคระบาด COVID 19 ตั้งแต่ปี 2020 จนถึงมีมาตรการผ่อนคลายจากภาครัฐ ส่งปัญหาผลกระทบหลายภาคส่วน ผู้บริหารเริ่มเห็นความสำคัญเกี่ยวกับระบบปัญหาการจัดการในกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ใส่ใจลดต้นทุนในกระบวนการกันมากขึ้นเพื่อสร้างโอกาสการแข่งขันในโลกอุตสาหกรรมและธุรกิจให้เติบโตก้าวหน้าพร้อมสู่การแข่งขันอันดุเดือด
เป็นเวลากว่า 2 ปีที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน จากทำงานจากที่ทำงานกลายเป็นทำงานที่บ้าน WFH (Work from home) และปีนี้ก็กลับเข้าสู่การทำงาน ณ สถานประกอบการ มาตรการต่างๆจึงต้องกระชับ รวดเร็วเพื่อตอบสนองโอกาสตามแผนงานนั้น มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ISO 41001:2018 เป็นสิ่งสำคัญที่ตอบโจทย์ปัญหาให้เป็นไปตามความต้องการนั้นได้ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อการดำเนินธุรกิจได้
มาตรฐาน ISO 41001 เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้บริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ ช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกล่าวคือ Facility Management (FM) เป็นการผสมผสานหลายองค์ความรู้การบริหารจัดการอาคาร รวมถึงวิธีการจัดการกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ซึ่งผลของการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของมาตรฐาน ISO 41001 นั้นจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพคน ความเป็นอยู่ และผู้คนที่เกี่ยวข้องผ่านการบริหารจัดการในอาคารให้มีความน่าอยู่ปลอดภัย
ขอบเขตของ ISO 41001:2018 FM นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ Hard FM และ Soft FM
Hard FM
คือการบำรุงรักษาเชิงโครงสร้างของทรัพย์สินทางธุรกิจ ส่วนโครงสร้างและพื้นที่ของอาคาร ซึ่งมักเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องการการจัดการคุณลักษณะของอาคาร เพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องทางธุรกิจในระยะยาว
Soft FM
คือการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของอาคารให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ มีการดูแลบำรุงรักษาในองค์กรเพื่อเพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้าและพนักงาน สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นจุดที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานและใช้ประโยชน์ของอาคารเช่นการทำให้สถานที่ทำงานมีสวยขึ้น สะอาด มีความปลอดภัยเป็นต้น
ประโยชน์ของ ISO 41001:2018 ต่อองค์กรที่ได้รับ
- องค์กรมีการปรับปรุง พัฒนาระบบด้านความเป็นอยู่ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของพนักงานให้ดีขึ้น
- ส่งเสริมภาพลักษณ์ สร้างความมั่นใจ และเพิ่มความไว้วางใจจากลูกค้า
- ใช้ต้นทุนองค์กรลดลง ใช้ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- บริหารความซับซ้อนของการจัดการอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้อาคารและผู้มาได้รับบริการ
ISO 41001:2018
- ฝึกอบรมมาตรฐาน ISO 41001
- ทำ Gap Analysis ในองค์กร
- กำหนดประเด็นสำคัญภายในและภายนอก
- ทำการประเมินความเสี่ยง Risk Assessment
- ทำแผน FM Plan
- ดำเนินการตามแผนและการควบคุม
- ตรวจสอบการนำไปใช้งาน Audit
- ทบทวน Review
- ลงมือทำ Action
มาตรฐาน ISO 41001:2018 Facility Management (FM) จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรสามารถให้บริการได้เต็มประสิทธิภาพ ส่งมอบคุณภาพงานที่มีประสิทธิผลทำให้ต้นทุนมีความคุ้มค่าเหมาะสมตามกำหนด รวมถึงยังช่วยจัดการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยต่างๆในการทำงานอีกด้วย
ด้วยประสบการณ์วิศวกรรมอาคารกว่า 30 ปี INNO บริหารอาคารร่วมกับเจ้าของอาคารทำเรื่องบริหารจัดการอาคารให้เป็นเรื่องง่าย ทั้งอาคารขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่แบบครบวงจรด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ พร้อมวางแผนความต้องการใช้ทรัพยากรในอนาคต รองรับมาตรฐานสากล ช่วยให้คุณดำเนินธุรกิจได้ด้วยมาตรฐานระดับสูงสุดและยั่งยืน
บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษางานระบบวิศวกรรม และบริหารงานบำรุงรักษาซ่อมแซมงานระบบวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารการจัดการพลังงานภายในอาคาร สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลด้านวิศวกรรมอาคารเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ