Knowledge


คลังความรู้

INNO Energy&Engineering Advisory ที่ปรึกษาด้านพลังงาน

            พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม อัตราการใช้พลังงานในประเทศไทยช่วงสิบปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยพบว่าสถิติการใช้พลังงานของประเทศเมื่อปี 2565 มีใช้พลังงานเพิ่มขึ้นถึง 16.7% เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยคิดมูลค่าการใช้พลังงานรวมกว่า 2,089,316 ล้านบาท รวมถึงค่า FT ต่อหน่วยที่สูงขึ้นส่งผลถึงภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการตรวจสอบและการจัดการจึงมีประโยชน์ต่อการใช้พลังงานที่มีอยู่ อีกทั้งยังช่วยดูแลในการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น  

            เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง และสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน หลายธุรกิจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจากค่าไฟแพงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนธุรกิจ ประหยัดค่าไฟอย่างเดียวคงไม่เพียงพอและไม่ยั่งยืน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการใช้พลังงานตามที่กฎหมายกำหนด

พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) 

            ปัจจุบันประเทศไทยรัฐบาลได้มีกฎหมายอนุรักษ์พลังงานขึ้น กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) ซึ่งได้มีการใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 เป็นต้นมา กำหนดให้กลุ่มเป้าหมาย คือ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม มีหน้าที่ต้องดูแลการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบ ดังนั้น เจ้าของโรงงานและผู้บริหารอาคารธุรกิจ จำเป็นต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบ ขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ และบริการที่รัฐจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อที่จะปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน้าที่ต้องถือปฎิบัติ ดังนี้ (ตามรูป) 

ขั้นตอนการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน ตามกฎหมาย 

1.ตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน 

  -ประการแต่งตั้งคณะทำงาน โดยระบุ ตำแหน่ง อำนาจ หน้าที่ พร้อมลงนามโดยประธานฯ 

  -เผยแพร่ตามสื่อต่างๆ เช่น บอร์ดประชาสัมพันธ์ในบริษัทฯ เป็นต้น 

2.ประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น 

  -พิจารณาดำเนินการตามข้อมูลด้านพลังงานที่ผ่านมา 

  -ประเมินจากตารางประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น (Energy Managemet Matrix : EMM), ผลลัพท์จากการประเมินที่ได้จะนำดำเนินการจัดรูปแบบการจัดการพลังงานให้สอดคล้องและเหมาะสมต่อไป 

3.กำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน 

  -การกำหนดและประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานจะต้องสอดคล้องตามกฎฯกระทรวง และผู้บริหารต้องลงนามรับรอง 

  -เผยแพร่นโยบายการอนุรักษ์พลังงานตามสื่อต่างในบริษัท เช่น เสียงตามสาย บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 

4.การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน 

  -ต้องดำเนินการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานโดยการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ เพื่อหาการสูญเสียและหามาตรการที่จะลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้น โดยการประเมินแบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่ ประเมินระดับองค์กร ประเมินระดับผลิตภัณฑ์และประเมินระดับเครื่องจักร/อุปกรณ์ 

5.การกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน แผนการฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 

  -เป้าหมายการลดการใช้พลังงานต้องกำหนดเป็นจำนวนร้อยละของการใช้พลังงานของปีก่อนหน้า โดยจะต้องระบุระยะเวลา การดำเนินงาน การลงทุน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการตามมาตรการนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

  -จัดให้มีแผนฝึกอบรม จัดให้มีการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและให้บุคคลากรของบริษัทฯจะต้องเข้าร่วมอบรมและร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 

  -เผยแพร่ตารางการฝึกอบรมตามสื่อต่างๆของบริษัทฯ 

6.การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานและการตรวจสอบวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน 

  -เจ้าของบริษัทฯต้องควบคุมการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง 

  -ผู้รับผิดชอบจะต้องรายงานผลการดำเนินการให้คณะทำงานทราบอยู่เสมอ 

  -คณะทำงานต้องตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทุกๆ 3 เดือน 

  -วิเคราะห์สาเหตุที่ไม่บรรลุแผนและแนวทางแก้ไข 

  -จัดทำรายงานสรุปติดตามตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานและการฝึกอบรม 

  -จัดทำรายงานผลการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน 

7.การตรวจติดตามและการประเมินการจัดการพลังงาน 

  -ประชุมร่วมเจ้าของและคณะทำงานเพื่อประกาศแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร(Internal Audit) 

  -ลงนามคำสั่ง และเผยแพร่ 

  -คณะทำงานรวบรวมผลการดำเนินงานการจัดการพลังงานให้กับคณะผู้ตรวจประเมินภายใน 

  -คณะผู้ตรวจประเมินภายในตรวจสอบว่าผลการดำเนินการ การจัดการพลังงานเป็นจริงตามข้อมูลคณะทำงานให้มาหรือไม่ หลังจากนั้นคณะผู้ตรวจฯจะต้องจัดทำรายงานผลการตรวจสอบให้กับคณะทำงานอีกทีหนึ่ง 

8.การทบทวนและวิเคราะห์แก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน 

  -คณะทำงานจะต้องสรุปผลให้กับเจ้าของบริษัทฯให้ทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งบอกแนวทางทบทวน แก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่องโดยละเอียด 

  -เจ้าของบริษัทฯควรทบทวนผลการดำเนินการจัดการพลังงานที่คณะทำงานแจ้งให้ทราบ 

  -เผยแพร่ผลการทบทวนตามสื่อต่างๆในบริษัทฯ 

  -ถ้ามีข้อพร่องให้รีบดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว 

            หลังจากที่ดำเนินการจัดการพลังงานครบ 8 ขั้นตอน ทางอาคารควบคุม /โรงงานควบคุม  จะต้องให้ผู้ตรวจสอบรับรองการจัดการพลังงาน เข้ามาตรวจสอบระบบการจัดการพลังงานภายในองค์กร เพื่อออกรายงานผลการตรวจสอบและรับรอง ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน 

– ได้รับข้อเสนอแนะมาตรการอนุรักษ์พลังงานและเทคโนโลยีโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงานและวิศวกรรมอาคาร 

– ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสม และเพิ่มความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางการค้า  

– พนักงานได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันพัฒนาองค์กรในด้านพลังงานและด้านอื่นๆอย่างต่อเนื่อง  

– ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ ESG (Environment, Social, Governance) ขององค์กร   

– ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร อาทิ เข้าร่วมงานประกวด BSA Building Safety Awards , Thailand Energy Awards เป็นต้น 

            INNO Energy & Engineering Advisory  เสริมความแกร่งให้กับธุรกิจและองค์กรที่ต้องการปรึกษาด้านพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินให้ถึงขีดสุด รับประกันผลประหยัดสูงถึง 30%  ลดต้นทุนการใช้พลังงานได้จริงและยั่งยืนในระยะยาว อินโนพร้อมให้บริการ ดังนี้
1.ที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงาน (Energy Conservation Consultants)  

–การตรวจสอบพลังงาน  

–การวิเคราะห์ข้อมูลพลังงาน  

–การติดตาม รายงาน และการประเมินโครงการ  

–แนวทางบริหารจัดการพลังงานแบบองค์รวม  

2.การให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ (Strategic Consulting)  

–การประเมินแนวโน้มพลังงานล่วงหน้า  

–การวิเคราะห์นโยบาย  

–การวางแผนเชิงกลยุทธ์  

–ข้อกำหนดทางเทคนิคและบริการจัดซื้อจัดจ้าง  

–การขึ้นทะเบียนตามกฎหมายควบคุม 

–การปฎิบัติตามมาตรฐานสากล 

–การบริหารโครงการลงทุน สำรวจ ตรวจวัด วิเคราะห์การใช้พลังงาน  

3.จัดทำเล่มรายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอนตามกฎหมาย  

4.เล่มตรวจรับรองการจัดการพลังงาน 

            สำหรับโรงงานหรืออาคารควบคุมทุกประเภท ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงานและวิศวกรรมอาคาร ด้วยมาตรฐานระดับสากล (ISO 9001 ,ISO 45001 , ISO 50001 และ ISO 41001 ) การันตีด้วยผลงานรางวัล 119 รางวัล ในระดับประเทศและอาเซียน 

            บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษางานระบบวิศวกรรม และบริหารงานบำรุงรักษาซ่อมแซมงานระบบวิศวกรรม งานบริหารการจัดการพลังงานภายในอาคาร รวมถึงบริการอบรมด้าน ESG สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือคลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ