การดูแลและบริหารจัดการงานระบบต่างๆ ของอาคารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
อสังหา หรือ อสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงและเป็นสถานที่ที่ผู้คนมาอยู่รวมอาศัยทำงานกัน ไม่ได้มีเพียงแค่สิ่งปลูกสร้างที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างหรืองานระบบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตภายในอาคาร บ้านและอุตสาหกรรม หากผู้ประกอบการใส่ใจให้ความสำคัญกับการดูแลงานระบบต่างๆในอาคาร คุณภาพชีวิตคนในอาคารก็ดีไปด้วย ลูกค้าหรือผู้มาติดต่อประทับใจ ธุรกิจก็เติบโตตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเล็งเห็นโอกาสและให้ความสำคัญของการบริหารอาคารตนเองกันมากขึ้น ส่งผลให้สถานประกอบการมีมูลค่าสูงขึ้นตามไปด้วย
ปัญหาจากการดูแลอสังหาไม่ดี ถือเป็นเรื่องปวดหัวของเจ้าของอสังหาและสุขภาพของผู้อาศัยในอาคารอย่างมาก เช่น ปัญหาที่เกิดจากระบบโครงสร้างของอสังหา ไม่ว่าจะเป็นพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน หรือระบบไฟฟ้าสื่อสาร ไฟไม่พอ ไฟตกบ่อย ปัญหาจากระบบปรับอากาศและระบายอากาศคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากเกิน ระบบปรับอากาศไม่เย็น เชื้อราเป็นต้น ปัญหาจากระบบสุขาภิบาลและระบายน้ำเสีย แรงดันน้ำไม่ดีเป็นต้น ปัญหาดังกล่าวเหล่านี้จึงต้องการดูแลและการจัดการอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะอาคารสถานประกอบการ เพราะเป็นสถานที่ที่ผู้คนใช้อยู่อาศัยและทำงาน สิ่งพื้นฐานของอาคารเหล่านี้จึงต้องได้รับการจัดการ แก้ไข ปรับปรุงและป้องกันด้วยระดับมืออาชีพตามแนวทางบริหารจัดการอาคาร 3P+1T
3P+1T เป็นแนวคิดบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร ที่อินโนนำมาปรับใช้ในการให้บริการอาคารลูกค้า ซึ่งครอบคลุมไปด้วยผู้คนในอาคาร (People) ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการ (Process) Lean ลดเวลา ลดของเสีย การทำซ้ำ และสถานที่ (Place) เพิ่มประสิทธิภาพให้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรในอาคารให้มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสมกับการใช้งาน และครอบคลุมอีก 1 ส่วนคือ ด้านเทคโนโลยี (Technology) เสริมนวัตกรรมที่เหมาะสม ประหยัด คุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แนวทางบริหารจัดการ
การทำอาคารให้เป็นอาคารน่าอยู่ แลดูใหม่อยู่เสมอ ให้ระบบต่างๆ ของอาคารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล้วนต้องได้รับการ Maintenanceสม่ำเสมอ หากพบปัญหาส่วนไหนต้องแก้ไข ซ่อมแซม ให้รีบดำเนินการทันทีที่พบ เพื่อให้คนที่อาศัยและเป็นผู้ใช้อาคาร ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และอาจสูญเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมากโดยไม่จำเป็น ในกรณีหากเกิดปัญหาลุกลามไปในส่วนอื่นๆของระบบ
แนวทางบริหารจัดการอาคาร มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึง 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
การซ่อมแซม (Repair) เป็นการซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารให้กลับมาใช้งานได้อย่างเดิม ดำนินการโดยตรวจสอบปัญหาของอาคาร ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการตรวจสอบข้อปัญหาและข้อบกพร่องระบบวิศวกรรม (Defect & Building Inspection) ตรวจสอบเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ชำรุด เมื่อพบปัญหาแล้วรายงานปัญหาและผลกระทบ มีข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข พร้อมควบคุมการดำเนินการแก้ไข
2. ด้านความปลอดภัยในระบบวิศวกรรม (Safety Inspection) เช่น ตรวจสอบความปลอดภัยระบบวิศวกรรมต่างๆ ของอาคาร เมื่อพบปัญหามีการรายงานปัญหาและผลกระทบ พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข นอกจากนี้ยังคำนึงถึง มาตรฐานความปลอดภัยในอาคาร มีการตรวจสอบอาคารตามระยะเวลาที่กำหนดและซ้อมแผนฉุกเฉินต่างๆ เผื่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
3. ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment impact of Engineering Management) เป็นการตรวจสอบผลกระทบต่างๆ เช่น คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำดื่มน้ำใช้ คุณภาพน้ำเสีย เป็นต้น
4. ด้านการบริหารจัดการระบบวิศวกรรม (Engineering Management Inspection) ซึ่งประกอบไปด้วยการบริหารจัดการประกันภัยอาคาร งบประมาณบริหารจัดการ แผนฉุกเฉินต่างๆ และการรายงานผลทางวิศวกรรม
การจัดการบริหาร (Manage) เป็นการบริหารจัดการงาน Routine ดำเนินงานตามกลยุทธ์และแผนบำรุงรักษา ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. งานเดินเครื่องจักรและการบำรุงรักษา (Operation Management & Preventive Maintenance)
ประกอบไปด้วย
– ตารางการปฏิบัติงานของช่างซ่อมบำรุง
– แผนการเดินเครื่องจักรและบำรุงรักษาเครื่องจักร
– เอกสารประกอบการเดินเครื่องและการบำรุงรักษา
– ค่ามาตรฐานในการควบคุมเครื่องจักร
– ระบบทะเบียนประวัติของเครื่องจักร
– ข้อมูลเฉพาะของเครื่องจักร อุปกรณ์
– การจัดแบ่งความสำคัญของเครื่องจักร
– คู่มือเครื่องจักร (Equipment Manual)
– แผนฉุกเฉินต่างๆ
– การตรวจสอบเครื่องจักร – อุปกรณ์
– การทดสอบเครื่องจักร – อุปกรณ์
– การบำรุงรักษาเครื่องจักร – อุปกรณ์
– เครื่องมือตรวจสอบ – เครื่องมือพิเศษ
2. งานแจ้งซ่อมระบบวิศวกรรม (Corrective Maintenance / Work order) ประกอบไปด้วย
– KPI งานแจ้งซ่อม
– ขั้นตอนการดำเนินงานแต่ละส่วนงาน
– เอกสารประกอบการดำเนินการ
3. งานบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management) เป็นการนำนวัตกรรม Building Management Solution ใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาบริหารจัดการอย่าง DI (Digital Innovation) ผ่านระบบ IOT ของอุปกรณ์และเครื่องจักร ให้สามารถติดตามผลการจัดการ วิเคราะห์ รายงานผลและระบุปัญหาต่างๆ อย่างตรงจุดแบบ Real Time
4. งานจัดการอะไหล่และวัสดุ – อุปกรณ์ (Inventory & Spare Parts) ประกอบไปด้วย
– ทะเบียนอะไหล่
– ประวัติการเบิกจ่าย
– การสำรองอะไหล่
– ค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นต้น
การพัฒนา R&D (Develop)
1. ฐานข้อมูลงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา
– คู่มือระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร
– ขั้นตอนการดำเนินงานแต่ละส่วนงาน
– แผนฉุกเฉินต่างๆ
– การฝึกอบรมพนักงานซ่อมบำรุง
2. โปรแกรมระบบงานแจ้งซ่อมและบำรุงรักษา
3. งานบริหารจัดการอะไหล่ และวัสดุ-อุปกรณ์
– การควบคุม และบริหารวัสดุคงคลัง เป็นต้น
การบริหารจัดการอาคารที่ดีย่อมทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย ดังนั้น หากบำรุงรักษาอาคารอย่างสม่ำเสมอ ย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจ การบริหารจัดการอาคารแบบครบวงจร มีดังนี้
- การจัดการข้อมูลอาคารได้อย่างเป็นระบบ
- Energy Management และกรณีศึกษาทางด้านการจัดการพลังงาน
- Service Quality กับการบริหารจัดการอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
- งานดูแลบำรุงรักษางานระบบประกอบอาคาร
- การวางแผนการการบำรุงรักษารูปแบบใหม่ โดยพิจารณาจากอายุการใช้งาน
- จัดการสถานการณ์วิกฤตด้วย Crisis Management
- แนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการคุณภาพงานบริการอาคาร
- ความปลอดภัยในอาคาร Building Safety
- จัดการ “ความเสี่ยง” ให้กลายเป็นเรื่องเล็กด้วยการบริหารความเสี่ยง
ในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิตอล หลายที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริม สแกนปัญหา เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงในแต่ละจุดของอาคาร ลดขั้นตอนความผิดพลาดในการทำงาน เพื่อให้อาคารสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น INNO เป็นหนึ่งในบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีในการดูแลและบริหารงานระบบต่างๆในอาคาร อย่างเทคโนโลยี DI (Digital Innovation) เพื่อทำการวิเคราะห์ และประมวลผลในการบริหารจัดการอาคาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร และสร้างโอกาสเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจ
บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษางานระบบวิศวกรรม และบริหารงานบำรุงรักษาซ่อมแซมงานระบบวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารการจัดการพลังงานภายในอาคาร สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลด้านวิศวกรรมอาคารเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ