“ไฟไหม้” ภัยร้ายใกล้ตัว ป้องกันก่อนสูญเสียมหาศาล
‘อัคคีภัย’ บ่อยครั้งสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างร้ายแรง ในรอบปี 2565 ที่ผ่านมา เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เกิดเหตุไฟไหม้อาคารและสิ่งของในอาคาร จำนวน 502 ครั้ง อาทิ อาคาร 6 ชั้น สีลมซอย 2, ชุมชนบ่อนไก่, ตึกแถวย่านบางบอน และ ตึก EnCo อาคาร A ล่าสุด สถาบันจัสแมกไทย ถนนสาธร บางเคสมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 10 ราย เหตุการณ์ไม่คาดคิดเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมได้แต่หากเกิดขึ้นยากจะควบคุมความเสียหาย โดยเฉพาะ”อาคารที่มีผู้คนใช้อาศัยทำงานจำนวนมาก”หากเกิดเหตุก็ยากที่จะจัดการรวมถึงความยากลำบากต่อการลำเลียงผู้คนในอาคารออกไปพื้นที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ แต่หากมีมาตรการป้องกันที่ดีและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน จะช่วยบรรเทาความเสียหายในการเกิดเหตุ ดังนั้นการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวจึงควรเริ่มที่ตัวเราเป็นลำดับแรก
ตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารปี พ.ศ.2522 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ปี พ.ศ.2535 ว่าด้วยการกำหนดโครงสร้างและอุปกรณ์อันเป็นส่วนประกอบของอาคารสูงและอาคารใหญ่พิเศษ และกฎกระทรวงฉบับที่ 39 ปี พ.ศ.2537 ว่าด้วยการกำหนดแบบวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัย ระบบแสงสว่างและการระบายอากาศเพื่อควบคุมการสร้างอาคารสูงให้มีความปลอดภัยแก่ ชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยหรือผู้ให้บริการ
การบริหารจัดการความปลอดภัยอาคารที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาทิ ละเลยในการดูแลและทดสอบระบบป้องกันอัคคีภัย มีระบบอัคคีภัยที่ไม่เหมาะสมพนักงานขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องของอัคคีภัย อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเหตุ ”เพลิงไหม้”
ระบบป้องกันเหตุเพลิงไหม้ จึงเป็นหัวใจหลักที่สำคัญอีกระบบและสร้างความมั่นใจให้ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารมีความปลอดภัย ทราบเหตุฉุกเฉินได้ไวระงับเหตุได้ทันเวลา
ระบบป้องกันอัคคีภัยมีกี่แบบ
ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่นิยมติดตั้งมีอยู่ 2 แบบ คือ
1.การป้องกันอัคคีภัยโดยทางอ้อม (Passive)
- การจัดวางผังอาคารให้ปลอดภัยต่ออัคคีภัย ให้สามารถป้องกันอัคคีภัยจากการเกิดเหตุสุดวิสัยได้ เช่นการเว้นระยะห่างจากเขตที่ดิน เพื่อกันการลามของอัคคีภัย การเตรียมพื้นที่รอบอาคาร สำหรับความสะดวกในการเข้าไปดับเพลิง
- การออกแบบอาคาร ให้ตัวอาคารมีความสามารถในการทนไฟ หรืออย่างน้อยให้มีเวลาพอสําหรับการอพยพหนีไฟได้ การออกแบบให้สะดวกต่อการเข้าดับเพลิง และการอพยพคนออกจากอาคารได้สะดวก มีทางหนี ไฟที่ดีมีประสิทธิภาพ
2.การป้องกันอัคคีภัยโดยตรง (Active)
- ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ที่ทำให้คนในอาคารทราบถึงเหตุฉุกเฉิน จะได้มีเวลาสำหรับการเตรียมตัวหนี หรือสามารถแจ้งให้ทราบและเข้าดำเนินการดับไฟได้ขณะที่เพลิงยังไม่ลุกลามมาก
- ระบบดับเพลิงด้วยแรงดันน้ำ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้จะต้องทำงานได้ โดยระบบนี้จะประกอบไปด้วยถังกักเก็บน้ำสำรองสำหรับดับเพลิง ซึ่งต้องมีปริมาณสำหรับดับเพลิงได้ไม่น้อยกว่า 1 – 2 ชม. โดยระบบประกอบด้วย เครื่องสูบระบบท่อ หัวรับน้ำดับเพลิง สายส่งน้ำดับเพลิง หัวกระจายน้ำดับเพลิง และระบบส่งน้ำ
- ถังดับเพลิงแบบมือถือ ข้างในบรรจุสารเคมีสำหรับดับเพลิงชนิดต่างๆ ใช้สำหรับ กรณีเพลิงมีขนาดเล็ก เพื่อหยุดยั้งการลุกลามไฟ
- ลิฟต์สำหรับนักพจญเพลิง กฏหมายจะกำหนดให้มีลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงทำงานในกรณีไฟไหม้เท่านั้น เพื่อพจญเพลิงและช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ
- ระบบควบคุมควันไฟ เพื่อป้องกันการสำลักควันไฟที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเหตุเพลิงไหม้ อาคารควรมีระบบนี้เพื่อชะลอความหนาแน่นของควันไฟ โดยส่วนมากจะใช้เครื่องอัดอากาศลงไปในจุดที่เป็นทางหนีไฟ โถงบันได และโถงลิฟต์ เพื่อเพิ่มระยะเวลาการหนีอพยพออกจากอาคาร
แล้วระบบป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่ดีควรทำอย่างไร?
1.การออกแบบ : ต้องทราบพื้นที่การใช้งานและเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่น การระบายอากาศ ระบบไฟฟ้าสำรอง การติดตั้งป้ายบอกทางหนีไฟ ถังดับเพลิงในแต่ละชั้น เป็นต้น
2.การติดตั้ง : จากทีมงานที่มีความรู้ ความชำนาญตามมาตรฐาน วสท. (EIT Standard) เช่น ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ การติดตั้งถังเก็บน้ำสำรอง ระบบป้องกันฟ้าผ่า เป็นต้น
3.การตรวจสอบและบำรุงรักษา : อย่างการบำรุงรักษาอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Preventive Maintenance Fire Alarm System) ตามระยะเวลา เพื่อให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา ป้องกันการเกิด Break down ของระบบ
4.การอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามกฎหมาย : สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป หรืออาคารสำนักงานที่มีสถานประกอบกิจการอยู่รวมกัน ควรมีการจัดฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทุกคนที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในอาคารได้ทราบถึงการป้องกันและระงับเหตุอัคคีภัยตามมาตรฐาน และสามารถใช้งานอุปกรณ์ดับเพลิงในอาคารได้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เพิ่มความปลอดภัยอีกขั้นด้วยการให้ความรู้พนักงาน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555
นอกจากการออกแบบรวมทั้งใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และการบำรุงรักษาอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ที่ต้องทำอยู่เป็นประจำแล้ว สิ่งที่ไม่ควรละเลย คือ การตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ประจำปี เพื่อให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาหากเกิดเหตุเพลิงไหม้
เช็คให้ชัวร์เพื่อป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ เพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ มีดังนี้
1.มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
–ต้องฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และกำหนดบุคลากรผู้รับผิดชอบตามแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
2.มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เพียงพอและครอบคลุมทั่วทั้งอาคาร
3.มีระบบดับเพลิง
–มีน้ำสำหรับดับเพลิงในปริมาณที่เพียงพอที่จะส่งจ่ายน้ำให้กับอุปกรณ์ฉีดน้ำดับเพลิงได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 นาที
4.มีเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
–ควรติดตั้งทั่วทั้งอาคารสถานประกอบการและสะดวกในการเข้าถึง
–ติดตั้งใ้มีระยะห่างกันไม่เกิน 20 เมตรและสูงจากพื้นไม่เกิน 1.50 เมตร
–มีการตรวจสภาพถังดับเพลิงอย่างน้อย 6 เดือน / 1ครั้ง
–ป้ายหรือสัญลักษณ์มองเห็นชัดเจน
5.มีทางออกฉุกเฉิน
–ทำป้ายบอกทางหนีไฟ ซึ่งมีแสงสว่างในตัวเองหรือใช้ไฟส่องให้เห็นชัดเจนตลอดเวลา
–ทางออกฉุกเฉินต้องอย่างน้อย 2 ทาง
–ประตูต้องทนไฟ เป็นแบบผลักออก ไม่ล่ามโซ่หรือใส่กุญแจ
–ขนาดประตูกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม.สูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร
6.มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักร
–ตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (มีวิศวกรไฟฟ้ารับรอง)
–แผนผังวงจรไฟฟ้า (มีวิศวกรไฟฟ้ารับรอง)
–อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรที่มีมาตรฐาน อยู่สภาพเรียบร้อยไม่ชำรุด/แตกหักเสียหาย เป็นต้น
–เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เป็นดลหะมีการต่อลงดินอย่างถูกต้อง
–มีมาตรการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และมีระบบป้องกันฟ้าผ่า
7.มีมาตรการความปลอดภัยสารเคมี มีการจำแนกสารแคมีอันตรายก่อนการจัดเก็บอย่างถูกต้อง โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะดูแลในการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย
การติดตั้ง ระบบ Fire Alarm เหมือนมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ คอยรักษาความปลอดภัยให้กับอาคารและผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารอยู่ตลอดเวลา เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้การทำงานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือ Fire Alarm Systems จะทำงานส่งสัญญาณเตือนภัยให้ผู้ที่อยู่ในอาคารได้ทราบ เพื่อเตรียมการอพยพหรือระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลดอัตราการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้ได้มากขึ้น เนื่องจากอาคารหรือสถานที่แต่ละแห่งมีแผนผังของอาคารที่แตกต่างกันออกไป ควรเลือกติดตั้งระบบดับเพลิงที่เหมาะสมต่อประเภทของไฟ มีป้ายหรือสัญลักษณ์ของจุดปลอดภัย สำหรับการหนีไฟที่ชัดเจน เช่น ป้ายบอกทางหนีไฟ ติดตั้งในจุดที่สังเกตุได้ง่าย รวมถึงแผนการดับเพลิงและหนีไฟ วิธีปฐมพยาบาลขั้นต้น ให้สามารถช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากเหตุเพลิงไหม้มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
INNO มีการวางแผนดูแลระบบป้องกันเพลิงไหม้แบบ “บำรุงรักษาอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Preventive Maintenance Fire Alarm System) ” ซึ่งเป็นการดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบระบบป้องกันเพลิงไหม้ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆได้ตรงจุดทำให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่าย พร้อมแนะนำการปรับปรุงให้ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของลูกค้าพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
INNO ได้รับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 ระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้คุณได้มั่นใจว่าการบริหารงานทุกโครงการของอินโนได้มาตรฐานความปลอดภัยในทุกขั้นตอน การันตีด้วยผลงานรางวัล 119 รางวัล (ASEAN Building Fire Safety Awards, MEA ENERGY AWARDS ,THAILAND ENERGY AWARDS , ASEAN ENERGY AWARDS ) ในระดับประเทศและอาเซียน นอกจากนี้การดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบระบบป้องกันเหตุเพลิงไหม้อย่างสม่ำเสมอ เป็นการส่งเสริมหลักประกันสุขภาพที่ดีของผู้ใช้งานสอดคล้องกับเป้าหมายด้าน S :Social ของ ESG ให้บรรลุผลอย่างยั่งยืน สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ
Cr. www.bangkokfire.go.th/dashboard-สถิติ/
www.naichangmashare.com