Knowledge


คลังความรู้

INNO กับความสำเร็จบนเวที MEA ENERGY AWARDS

    ปี 2565 เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว หลังพบโรคระบาดโควิด-19 มานานกว่า 3 ปี หลายประเทศเริ่มยกเลิกการควบคุมมาตรการโควิด-19 พร้อมปรับเป็นโรคประจำถิ่น  ทำให้หลายภาคส่วนดำเนินธุรกิจเป็นปกติกันมากขึ้น การใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นพร้อมกับราคาพลังงานก็สูงขึ้นตามไปด้วย โดยในเดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าสถิติสูงสุดที่ 32,254.5 MW ซึ่งสูงกว่าค่าสูงสุดปี 2564 ที่ 30,135.3 MW คิดเป็น 6.8 %  

 ประเทศไทยยังต้องนำเข้าพลังงานเกือบทุกประเภทจากต่างประเทศ เนื่องจากมีแหล่งพลังงานธรรมชาติไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งผลการใช้ไฟฟ้าในปี 2565 ( ม.ค.-เม.ย ) พบว่ามีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในทุกสาขาเศรษฐกิจ (ยกเว้นภาคเกษตรกรรม) โดยสัดส่วนในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมคิดเป็น 69 % ของการใช้ไฟฟ้าโดยรวม และการใช้พลังงานหลักมาจากอาคารของธุรกิจและอุตสาหกรรม เนื่องจากอาคารเป็นปัจจัยหนึ่งของผู้คนที่ต้องอาศัย ทำงาน ทำธุรกิจ ซึ่งการใช้พลังงานเป็นส่วนที่ทำให้การใช้ชีวิตภายในอาคารมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งการดำเนินชีวิต การหายใจสภาพอากาศและแสงสว่างในอาคาร ทั้งหมดนี้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ซึ่งทั้ง 3 จังหวัดนี้ ติดอันดับการใช้พลังงานไฟฟ้า 1 ใน 10 จังหวัด ของจังหวัดที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงที่สุดในประเทศไทย (2564) ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง 

           การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. (Metropolitan Electricity Authority: MEA) เป็นผู้จำหน่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าและประชาชน โดยให้บริการในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดย 3 จังหวัดนี้เป็นเขตชุมชนเมืองที่มีอัตราการใช้ไฟฟ้ามากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ กฟน. เล็งเห็นความสำคัญของการประหยัดพลังงานได้จัดทำการประกวดอาคาร ในแคมเปญ MEA Energy Awards เป็นการประกวดเพื่อคัดเลือก อาคารประหยัดพลังงานของการไฟฟ้านครหลวง” ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารแต่ละประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนโลกอย่าง SDGs (Sustainable Development Goals) ลดการใช้พลังงานเดินหน้าประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของประเทศไทยในอนาคต   

โดยใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานของโครงการ ประกอบด้วย  

Eactual = พลังงานไฟฟ้าที่อาคารใช้จริงต่อปี (kWh/ปี)  

Ebudget = ∑ Ahw = พื้นที่สำหรับแต่ละกิจกรรม × ชั่วโมงการใช้งาน/ปี × ค่าการใช้พลังงานมาตรฐาน (W/m2) 

พารามิเตอร์ที่ใช้พิจารณาเพื่อแสดงถึงคุณภาพของอากาศภายในอาคารประกอบด้วย 

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)                     ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 

ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5                     ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10 

สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O)                        สารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (TVOC) 

การตรวจประเมินคุณภาพอากาศในอาคารแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ  

     1.การตรวจวัดเชิงพื้นที่     

ได้แก่ 7 ประเภทอาคาร (โรงแรม, ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า, โรงพยาบาล, อาคารสำนักงาน, โรงเรียน/มหาวิทยาลัย, ไฮเปอร์มาร์เก็ต,  ร้านสะดวกซื้อ) 

  1. การตรวจวัดเชิงเวลา

ตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยทำการตรวจวัดต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน เฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมงของการทำงาน โดยทำการวัด  

สารมลพิษอันตราย – สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O), คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), สารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (TVOC) 

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก – PM 10, PM2.5 

การระบายอากาศ – คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 

อุณหภูมิและความชื้น – Dry bulb 

ความส่องสว่าง – Lux 

เมื่ออาคารผ่านเกณฑ์มาตรฐานแล้วจะได้รับตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS และเป็นอาคารประหยัดพลังงานของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่ กฟน.กำหนด 

บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จและความภูมิใจกับลูกค้าคนสำคัญของเราทั้ง 10 องค์กร ที่ได้รับรางวัล  MEA Energy Awards 2565 ของการไฟฟ้านครหลวง ได้แก่ 

ประเภทอาคารโรงพยาบาล 

ประเภทอาคารศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า 

ประเภทอาคารสำนักงาน 

เมื่ออาคารผ่านเกณฑ์มาตรฐานแล้วจะได้รับตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS และเป็นอาคารประหยัดพลังงานของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่ กฟน.กำหนด 

บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จและความภูมิใจกับลูกค้าคนสำคัญของเราทั้ง 10 องค์กร ที่ได้รับรางวัล  MEA Energy Awards 2565 ของการไฟฟ้านครหลวง ได้แก่ 

ประเภทอาคารโรงพยาบาล 

ประเภทอาคารศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า 

ประเภทอาคารสำนักงาน 

เพราะการประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เพียงแค่แนวคิด

..หากต้องมีการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง 

  INNO มุ่งเน้น Maintenance จัดการอาคารให้สามารถใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมต้นทุนที่ลดลง วัดผลได้ เพราะตัวเลขพลังงานที่ลดลงนั่นคือกำไรที่ได้รับกลับมา INNO จึงบริการมาตรการอนุรักษ์พลังงานให้ลูกค้า เช่นการติดตั้งควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์อย่างอินเวอร์เตอร์ (VSD) การเปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ใช้ปั๊มประสิทธิภาพสูง เปลี่ยนใช้หลอดไฟ LED หรือปรับปรุงหลอดไฟ LED เพื่อใช้งานให้อาคารมีประสิทธิภาพสูงสุดและการประหยัดพลังงานยังดีเยี่ยมอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถ Monitoring พลังงานเพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพการใช้งานในแต่ละจุดของอาคาร สามารถนำไปวิเคราะห์การใช้พลังงานหรือหาจุดปรับปรุงเพื่อให้สามารถลดพลังงานในอาคารได้มากที่สุด ทั้งหมดนี้ INNO เป็นส่วนหนึ่งของการลดพลังงานในองค์กรให้กับลูกค้าจนประสบผลสำเร็จและได้รับรางวัล อาคารประหยัดพลังงานจากการไฟฟ้านครหลวง MEA Energy Awards ซึ่งองค์กรที่ได้รับจะมีสิทธิประโยชน์ จาก  MEA การไฟฟ้านครหลวง   

สามารถเลือกรับการบริการอย่างใดอย่างหนึ่งของ MEA *มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท  

  1. บริการล้างแอร์ฟรี สูงสุด 40 เครื่อง * เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
  2. EV Charger (Normal Charge)
  1. Energy Audit
  1. Energy Training

หลักสูตรฝึกอบรม

  1. Better Care

           INNO มุ่งเน้นให้ทุกคนในองค์กรร่วมมือกันทำกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน ไม่ใช่ทำฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะทุกคนในองค์กรถือเป็นผู้ใช้พลังงานเหมือนกัน ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดบนโมเดล 3P+T (People, Process, Place + Technology) คือด้าน People ให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานให้แก่บุคลากรในองค์กร ด้าน Process มีนโยบาย ดำเนินแผนให้ใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยค่าไฟน้อยที่สุด ด้าน Place เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยสภาพแวดล้อมอุปกรณ์ขององค์กร และ Technology เป็นการเสริมด้วยเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการวิเคราะห์และติดตามผลการใช้เพื่อให้สามารถวางแผนการใช้พลังงานได้ถูกต้อง แม่นยำ อย่างทันท่วงที ด้วยเหตุนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ทั้งจากผู้บริหาร คณะจัดการพลังงาน รวมถึงพนักงานระดับปฏิบัติงาน โดยผู้บริหารนั้นถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมเป้าหมายและผลักดันการอนุรักษ์พลังงาน คณะจัดการพลังงานถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำเนินด้านพลังงาน เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการจัดการพลังงาน สามารถวิเคราะห์ ประเมินการใช้พลังงานจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้ พนักงานระดับปฏิบัติงานถือเป็นผู้รับผิดชอบการใช้พลังงาน มีส่วนสำคัญที่ช่วยกันขับเคลื่อนให้กิจกรรมอนุรักษ์พลังงานดำเนินไปได้ เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆในสำนักงาน ซึ่งหากมีการประสานงานที่ดีทั้งระดับองค์กรจะทำให้เกิดกระบวนการอนุรักษ์พลังงานในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 

   INNO เห็นเทรนด์การใช้พลังงานของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้คนด้วยประสบการณ์บริหารอาคารและฝึกอบรมสร้างความมีส่วนร่วมของบุคลากรมาเกือบ 30 ปี INNO จึงนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงาน มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี IoT ติดตามการใช้พลังงานสู่ความยั่งยืน ค้นหาปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการพลังงานอาคาร คือทำอย่างไรให้ใช้พลังงานน้อย ติดตามได้ วัดผลได้ ปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพ โดยนำดิจิทัล Smart Platform ผนวกกับการใช้พลังงานสะอาดโซลาร์เซลล์ (Solar Cell)  สามารถติดตามการบริหารจัดการพลังงานด้วย Data สั่งการผ่านแอปพลิเคชัน (Application) ในดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) เพื่อให้ระบบพลังงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ฉลาด วิเคราะห์แม่นยำ สามารถมอนิเตอร์ (Monitor) ได้แบบเรียลไทม์ (Real-Time) ทำให้ได้การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการพลังงาน พร้อมเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ทำให้ได้ผลด้านการประหยัดพลังงานและการลด CO2 เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายด้าน Environment ของ ESG ให้บรรลุผลอย่างยั่งยืน  

Building Service Engineering    

 Digital Innovation      

Energy and Engineering Advisory     

Renewable Energy   

Smart System Solution   

Productivity and Quality Improvement 

Architecture and Facility Management 

         บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษางานระบบวิศวกรรม และบริหารงานบำรุงรักษาซ่อมแซมงานระบบวิศวกรรม งานบริหารการจัดการพลังงานภายในอาคาร รวมถึงบริการอบรมด้าน ESG สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลด้านวิศวกรรมอาคารเพิ่มเติมได้ที่ 02 941 4080 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อให้เราติดต่อกลับ